รูปที่ 1 เครื่องรับวิทยุสำหรับสถานีวัดระดับน้ำ

       โครงงาน เชื่อมโยงข้อมูลและแสดงผลระดับน้ำ ในแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นโครงงานของแผนกการร่องน้ำของการท่าเรือแ่ห่งประเทศไทย ซึ่งมีหน้าที่สำรวจความลึกของร่องน้ำเพื่อทำการขุดลอกสันดอน

       ในการสำรวจความลึกหรือตื้นของร่องน้ำนั้นจำเป็นต้องทราบระดับน้ำ ปัจจุบัน ณ เวลาสำรวจ และตลอดเส้นทางการสำรวจ การร่องน้ำได้ัติดตั้งสถสนีวัดระดับน้ำไวจำนวน 4 สถานี เิริ่มตั้งแต่อาคารโอบีที่คลองเตย,สถานีปากน้ำ,สถานีป้อมพระจุล และสถานี BT หรือสถานีกระโจมไฟที่ปากน้ำสมุทรปราการ

      การทำแผนที่ความลึกของแม่น้ำการท่าเรือได้ใช้เทคโนโลยีดาวเทียมจีพีเอส(GPS) ทำงานร่วมกับสถานีอ้างอิง DGPS เพื่อระบุพิกัดอย่างถูกต้องแม่นยำผิดพลาดไม่เกิน 3 เมตร  ใช้เครื่องหยั่งน้ำ (Echo Sounder) เพื่อวัดความตื้นลึกของแม่น้ำในขณะเดียวกันก็ต้องเก็บค่าของระดับน้ำปัจจุบัน(Mean Sea Level) ข้อมูลทั้งหมดจะถูกจัดเก็บเืพื่อส่งต่อให้เรือขุดสันดอนทำการขุดลอก

      ทำนายระดับน้ำ   นอกจากภารกิจข้่างต้นแล้วฝ่ายการล่องน้ำยังมีขีดความสามารถในการทำนายระดับน้ำ
ล่วงหน้าในวันเวลาและสถานที่ที่ต้องการได้ ทั้งนี้ต้องมีการเก็บสถิติระดับน้ำเอาไว้ตลอดเวลา และใช้โปรแกรม "พระยา" ในการทำนายระดัีบน้ำดังกล่าว

      ข้อมูลระดับน้ำแบบดิจิตอล จัดทำโดย บริษัทเนฟคอม รีเสิร์ช จำกัด โดยทางบริษัทได้จัดทำ ฮาร์ดแวร์ "NavLog" เพื่อทำการบันทึกข้อมูลระดับน้ำทุกสถานี ที่ส่งออกมาทางวิทยุ ต่อจากนั้นสร้างโปรแำกรมแยกระดับน้ำออกเป็นแต่ละสถานี และจัดแยกข้อมูลเป็นรายวัีน และรายชั่วโมง เพือจัดเตรียมข้อมูลสำหรับโปรแกรมทำนายระดับน้ำต่อไป
 
     

   รูปที่ 2 NavLog คือเครื่องควบคุมและบันทึกระดับน้ำที่ส่งจากสถานีวัดมายังเครื่องรับ

      เครื่อง NavLog ออกแบบโดยบริษัท เนฟคอม รีเสริช มีหน้าที่รวบรวมระดับน้ำจากสถานีต่างเพื่อการคัดแยกและจัดสรรข้อมูลทางดิจิตอลเพื่อทำการทำนายน้ำต่อไป

   

          รูปที่ 3 โปรแกรมแสดงระดับน้ำทั้ง 4 สถานี แบบ Real Time ซึ่งได้รับข้อมูลมาจากสถานีวัดโดยส่งผ่านทางวิทยุ

 

   

              รูปที่ 4 เส้นกร๊าฟแสดงระดับน้ำแบบต่อเนื่องของสถานีป้อมพระจุล

        ระดับน้ำที่รับได้จากสถานีวัดน้ำจะถูกนำมาพล๊อต เป็นกร๊าฟระดับน้ำแบบต่อเนื่อง ด้วยโปรแกรม TideMon